รู้จัก GFRP หรือ Glass Fiber Reinforced Polymer
เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส และ ไวร์เมซไฟเบอร์กลาส (GFRP Rebar) ผลิตจากเส้นใยไฟเบอร์กลาสที่ผ่านขบวนการดึงขึ้นรูปซึ่งวิธีการทำคล้ายการทำเชือกแล้วนำไปผสมกับเรซิน สามารถรับแรงได้ดีและมีน้ำหนักเบา ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะมีการผสมสีที่ไม่เหมือนกัน โดย GFRP Rebar นั้นนำไปใช้ในกิจการเครื่องบินและเดินเรือทั้งในประเทศอเมริกาและแคนนาดามานานแล้ว อย่างเช่นในปี ค.ศ.1996 มีการผลิตเป็นเหล็กเส้นเพื่อนำไปสร้างสะพาน
ขั้นตอน กระบวนการในการผลิต Glass Fiber Reinforced Polymer
ทำไมแนะนำให้ใช้ GFRP Rebar แทนเหล็กเส้น และไวร์เมซ
เหล็กเกิดสนิมได้แม้จะอยู่ในคอนกรีต เพราะเหล็กนั้นโดนความชื้นตั้งแต่การขนส่ง และความชื้นยังซึมผ่านเข้าไปในคอนกรีตได้ เมื่อเหล็กเกิดสนิมก็จะดันเนื้อคอนกรีตให้แตกออกมาจนโครงสร้างรับแรงได้น้อยลงและพังลงมา โดยเฉพาะโครงสร้างที่อยู่ใกล้ทะเลที่ทำให้เหล็กเกิดสนิมเร็วขึ้น อีกทั้งการผลิตเหล็กต้องใช้พลังงานสูงมาก และราคาพลังงานก็มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด ทำให้ราคาเหล็กมีแนวโน้วราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทำไมแนะนำให้ใช้ GFRP Rebar แทนเหล็กเส้น และไวร์เมซ
น้ำหนักเบา เพราะมีน้ำหนักเพียง 25% ของน้ำหนักเหล็กในขนาดที่เท่ากัน
แข็งแรงกว่าเหล็ก 2 เท่า ในขนาดที่เท่ากัน
ขนส่งง่าย ขนย้ายสะดวก โดยขนาด 4-12 มิลลิเมตร สามารถม้วนได้ โดยรถกระบะ 1 คันขนได้ประมาณ 100-120 ม้วน (1 ม้วนยาว100-200 เมตร) ก็จะได้ประมาณ 2 หมื่นเมตร ซึ่งถ้าเป็นเหล็กเส้นปริมาณนี้ต้องใช้รถเทเลอร์ ส่วนขนาดที่ใหญ่กว่า 12 มิลลิเมตรต้องตัดเป็นเส้นตรง
ทำให้น้ำหนักโครงสร้างเบาลง
ไม่เป็นสนิม ไม่เกิดการกัดกร่อน จึงไม่ทำให้คอนกรีตเสียหาย และไม่ต้องบำรุงรักษา
ไม่เป็นสื่อกระแสไฟ ไม่เป็นสื่อแม่เหล็ก จึงไม่รบกวนสัญญาณสื่อสาร
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเมื่อเทียบการการผลิตเหล็ก
ผลิตได้ความยาวตามต้องการ เพราะม้วนแล้วขนส่งไปได้ จึงไม่ต้องต่อทาบเหมือนการใช้เหล็กเส้น
ของไม่หายเมื่อวางไว้ในพื้นที่ก่อสร้าง เพราะขายไม่ได้เหมือนเหล็ก
ใช้งานร่วมกับเหล็กเส้นได้
เป็นวัสดุที่เหนียวแต่เปราะ งอได้ไม่เท่าเหล็ก
หากเสียหายจะซ่อมที่หน้างานได้ยากกว่าเหล็ก
มีข้อจำกัดในการปรับเปลี่ยนหน้างาน การงอหรือดัดต้องทำมาจากโรงงาน ไม่สามารถทำเองได้ ระยะต่างๆ จึงต้องแม่นยำ
แม้การทำงานจะคล้ายเหล็ก แต่ช่างจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการใช้งานที่ถูกต้อง
จำเป็นต้องใช้งานร่วมกับเหล็กเส้นในส่วนที่ต้องงอ
ความสามารถในการทนความร้อนต่ำ
ปัจจุบันยังแนะนำให้ใช้เฉพาะโครงสร้างที่อยู่ระดับดินและใต้ดินเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้กับโครงสร้างที่สูงขึ้นไป
มีการผลิตเป็นเหล็กเส้น เหล็กตะแกรงและเหล็กปลอก โดยการทำเหล็กปลอกจะนำเหล็กเส้นมาขดๆ เป็นวงมีลักษณะคล้ายสปริง
แนะนำให้ใช้สำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นทางราบ ได้แก่ ถนน โกดัง พื้นลานจอดรถ กำแพงกันดิน คลองชลประทาน พื้นคอนกรีตวางบนดิน พื้นคอนกรีตวางบนคาน คานที่อยู่ระดับพื้นดิน ฐานราก เสาเข็ม ยังไม่แนะนำให้ใช้ในอาคารที่สูงขึ้นไป เนื่องจากยังต้องได้รับการพัฒนาดีเทลเชิงวิศวกรรมให้ดีขึ้น เช่น การงอและพับเหล็กวิธีต่างๆ
ในการคำนวณโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก วิศวกรโครงสร้างจะใช้ค่า tensile strength (ksc) kg/sq.cm มาใช้ในการกำหนดขนาดเหล็กเส้น ซึ่งสามารถเปรียบเทียบ ค่า tension test max load (kgf) และค่า tensile strength (ksc) kg/sq.cm ได้จากตารางจากผู้ผลิต และมีคู่มือการเลือกใช้งาน Fibre wire mesh ตามความหนาพื้นคอนกรีตที่จะเท และการแบ่ง joint ในการเทงานพื้น Slab on Ground เพื่อการใช้งานอย่างถูกต้อง